กำหนดประเด็นหลักการพัฒนา ๖ ด้าน ๖ ยุทธศาสตร์การพัฒนา ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตคนและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การพัฒนาด้านการเมืองการปกครอง และการบริหารจัดการที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กระทรวง ทบวงกรม จังหวัด อำเภอ และภารกิจถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อให้การคมนาคมและการขนส่ง มีความสะดวกรวดเร็ว
(๒) เพื่อให้การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
(๓) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านไฟฟ้าสาธารณะเป็นไปอย่างทั่งถึงและเพียงพอ
(๔) เพื่อให้การจัดระบบการวางผังเมืองตำบลและการจัดทำแผนที่ภาษี ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แนวทางการดำเนินงาน
(๑) พัฒนาด้านการคมนาคม และการขนส่งสินค้าทางการเกษตรให้มีความสะดวกรวดเร็ว
(๒) พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
(๓) ประชาชนได้รับบริการด้านไฟฟ้าสาธารณะได้ทั่วถึงและเพียงพอ
(๔) มีการจัดระบบการวางผังเมืองตำบลและแผนที่ภาษีที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเข้มแข็งและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(๒) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา ศาสนา และประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามไว้ตลอดไป
(๓) เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขเอย่างทั่วถึง
(๔) เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(๕) เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี
แนวทางการดำเนินงาน
(๑) พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(๒) ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา ศาสนาและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
(๓) ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
(๔) ฝึกอบรมให้ความรู้และการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน
(๕) ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและเล่นกีฬา
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อยกระดับรายได้ของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(๒) เพื่อให้การจัดหาตลาดและแทรกแซงราคาสินค้าทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรมีประสิทธิภาพ
(๓) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
(๔) เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(๕) เพื่อให้การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดให้มากขึ้น
(๖) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชีวิตอันดีงามของประชาชนในท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงาน
(๑) ฝึกอบรมและสนับสนุนงบประมาณให้แก่กลุ่มอาชีพ เกษตรกรผู้ว่างงานหลังฤดูการเก็บเกี่ยว
(๒) ส่งเสริมการผลิตสินค้าทางการเกษตร และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง
(๔) ส่งเสริมการจัดตั้งร้านค้าชุมชน ตลาดกลางทางการเกษตร
(๕) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชีวิตอันดีงามของประชาชนในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่ออนุรักษ์ และฟื้นฟู ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน
(๒) เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีความสมดุลอยู่เสมอ
(๓) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ขยะมูลฝอย ฝุ่นละออง น้ำเสีย ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๔) เพื่อให้การควบคุมและพัฒนาคุณภาพของดินให้มีความสมดุลสามารถทำการเกษตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
แนวทางการดำเนินงาน
(๑) ส่งเสริม เร่งรัดการฟื้นฟูการอนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้อย่างมีระบบ
(๒) ฝึกอบรม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓) ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมไฟป่า
(๔) จัดระบบการบำบัด ฟื้นฟูคุณภาพดิน น้ำ ขยะมูลฝอย
(๕) จัดทำแนวเขตเพื่อป้องกันการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์
(๖) ปรับปรุงภูมิทัศน์ตำบลให้เป็นเมืองน่าอยู่
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : การพัฒนาการเมืองการปกครอง และการบริหารจัดการที่ดี
วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อให้การบริการประชาชนได้สะดวกรวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และทั่วถึง
(๒) เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมคิด
(๓) ร่วมทำและร่วมตัดสินใจทั้งในด้านการเมือง การปกครอง
(๔) เพื่อให้ ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงาน และเจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(๕) เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แนวทางการดำเนินงาน
(๑) อบรม ประชุมชี้แจงแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการให้บริการประชาชนให้เป็นระบบ เพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้มารับบริการมีความประทับใจและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(๒) ส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในด้านการปกครอง การพัฒนาท้องถิ่น ร่วมคิด ร่วมทำและร่วมตัดสินใจ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในรูปแบบประชาคมหมู่บ้าน/ตำบล
(๓) ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงาน ลูกจ้างเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
(๔) ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน ประชาชน ในการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน/ตำบล
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การพัฒนาตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กระทรวง ทบวงกรม จังหวัด อำเภอ และภารกิจถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการตอบนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กระทรวง ทบวงกรม จังหวัด อำเภอ
และภารกิจถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางการดำเนินงาน
(๑) เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และสร้างวินัยแก่ทุกภาคส่วน
(๒) เสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยม ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่
แนวทางการพัฒนา
– การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
– สนับสนุนและส่งเสริมการปลูกยางพารา
– สนับสนุนและส่งเสริมการเกษตร
– ขยายเขตไฟฟ้าอย่างทั่วถึง
– ขยายเขตโทรศัพท์พื้นฐานอย่างทั่วถึง
– ชุมชนมีระบบการระบายน้ำที่ดี
– ส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน
– การยกระดับคุณภาพชีวิตด้านการศึกษา
– การส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ
– การส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
– ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความเข้มแข็งของชุมชน
– การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจ
– ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ซ่อมแซมถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ ทางเดิน
– ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค –บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
– การวางระบบผังเมือง
– ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอย
– การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความเข้มแข็งเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
– ส่งเสริมด้านการพัฒนาบุคลากร
– การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
– ส่งเสริมและพัฒนารายได้ของท้องถิ่น
– การส่งเสริม ปรับปรุงและจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย
– ขยายเขตและปรับปรุงระบบประปาอย่างทั่วถึง
– มีการวางผังเมืองเพื่อพัฒนาชุมชนในระดับต่าง ๆ
– จัดการ สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชน
– อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแม่น้ำ ลำคลอง
– พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน
– ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร
– ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกาย
– เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดและโรคเอดส์
– ผู้ด้อยโอกาส คนยากจน ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ได้รับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
– หมู่บ้านดำรงความเข้มแข็งในการเอาชนะยาเสพติด
– แหล่งน้ำได้รับการพัฒนาและปรับปรุงซึ่งจะทำให้พื้นที่การเกษตรมีน้ำใช้อย่างเพียงพอกับ
ความต้องการครัวเรือนมีน้ำสะอาดไว้ใช้อุปโภคบริโภค
– ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์